ความปลอดภัยและการฟื้นฟูระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม
บทความที่เป็นประโยชน์ในสถานการณ์น้ำท่วม เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไฟฟ้าและการฟื้นฟูระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม ประกอบด้วย
- สวัสดิภาพและความปลอดภัยหลังน้ำท่วม
- การทดสอบความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า (ในบ้าน) หลังน้ำท่วม
- การฟื้นฟูระบบไฟฟ้ากำลัง อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรหลังน้ำท่วม
- เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม
ยินดีให้คำแนะนำปรึกษาฟรี
สวัสดิภาพและความปลอดภัยหลังน้ำท่วม
เจ้าของอาคารที่ถูกน้ำท่วม มักจะมีคำถามยาก ๆ เกี่ยวกับน้ำท่วมระบบไฟฟ้าในอาคารของเขาเอง อาทิเช่น
- ผมจะทำยังไงหลังน้ำลดแล้ว
- เบรกเกอร์และฟิวส์จะมีความปลอดภัยในการใช้งานอยู่ หรือไม่
- ผมจะต้องเปลี่ยนสายไฟใหม่ไหม
การที่น้ำท่วมสามารถทำให้เกิดปัญหาไฟไหม้ที่รุนแรงได้ ถ้าระบบสายและอุปกรณ์ถูกแช่น้ำแม้แต่การที่จะทำความสะอาดและทำให้แห้งแล้วก็ตาม แต่ตะกอนและสารพิษก็ยากต่อการที่จะทำความสะอาด เหมือนว่าการทำความสะอาดหลังน้ำลดแล้วมันก็ยังมีความอันตรายของระบบไฟฟ้าแฝงอยู่ ซึ่งมันเหนือกว่าหน้าที่ของคุณที่จะแก้ไขได้ ก่อนที่จะเริ่มใช้ เริ่มทำงาน จะต้องให้ช่างไฟฟ้าทำการตรวจเช็คในเรื่องของสายไฟและในความเสียหายอื่น ๆ และเรื่องการซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งจะมีข้อแนะนำที่สำคัญในเรื่องของความปลอดภัยดังนี้
- ห้ามเปิดสวิทซ์ หรือใช้งานปลั๊กไฟจนกระทั่งช่างไฟจะบอกว่ามันปลอดภัยแล้วเท่านั้น
- ห้ามสัมผัสเบรกเกอร์ หรือฟิวส์ในขณะที่มือเปียก หรือในขณะที่ตัวยังอยู่ในน้ำ ให้ใช้พลาสติกแห้ง หรือยางที่เป็นฉนวนไฟฟ้าและสวมถุงมือกันไฟเพื่อปิดสวิทซ์ไฟฟ้า
- อย่าปล่อยให้สายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าเปียก ห้ามถอดสายดิน
- ใช้เซฟตี้คัทแบบพกพา เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด
- อุปกรณ์ไฟฟ้าใดใดที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ถ้าจมน้ำให้เลิกใช้ทันที
- เมื่อต้องใช้เครื่องดูดฝุ่นชนิดดูดเปียก-แห้ง หรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ให้ปฎิบัติตามคู่มือการใช้อย่างเคร่งครัด
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดใช้เครื่องยนต์ เครื่องกำเนิดคาร์บอนมอนนอกไซด์ สามารถทำอันตรายได้ ควรใช้ในที่เปิดโล่ง หรือพื้นที่ใกล้ประตู หน้าต่าง
- อย่าเปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียหาย อาจทำให้เกิดอันตราย หรือไฟดูดได้
การฟื้นฟูระบบไฟฟ้ากำลัง อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักรหลังน้ำท่วม
ลำดับขั้นตอนการฟื้นฟูระบบ
ข้อควรระวัง : ต้องสวมถุงมือยางและรองเท้านิรภัยไฟฟ้าสำหรับการทำงานที่มีกระแสไฟฟ้าทุกครั้ง
- ตัดระบบจ่ายไฟฟ้าทั้งหมด
- ถ่ายภาพความเสียหายจากน้ำท่วมสำหรับการเรียกร้องการประกันและการหักภาษี เก็บบันทึกค่าจ่ายทั้งหมด
- ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร ตรวจสอบรากฐานว่ามีการแตกหัก หรือไม่ ตรวจสอบผนังพื้นและหน้าต่างเพื่อทำการแก้ไขซ่อมแซม
- ถ้าตู้สวิทซ์ที่อยู่ในชั้นใต้ดินที่ถูกน้ำท่วม ควรทำการสูบน้ำออกจากชั้นใต้ดินและทำให้ระบบไฟฟ้าดังกล่าวแห้ง
- ทำการค้นหาแนวสายไฟที่อยู่ใต้ดิน ใต้ผนัง หรือในรางเดินสายไฟ เพื่อทราบแนวที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมแซมและติดตั้งสายไฟในระบบใหม่
- หากมีการแก้ไข ซ่อมแซมติดตั้งใหม่เรียบร้อย จะต้องมีการทดสอบระบบไฟฟ้าก่อนการจ่ายไฟฟ้าไปยัง Load
- วัดแรงดันไฟฟ้าว่าตรงตามที่ต้องการ หรือไม่
- ตรวจสอบการเชื่อมต่อของสายไฟฟ้าทั้ง L, N, PE
- เมื่อตรวจสอบการติดตั้งของระบบไฟฟ้าแล้ว ทำการทดสอบระบบ Load โดยเชื่อมต่อ Load เข้าสู่ระบบไฟฟ้า (โดยทำการเชื่อมต่อ Load ทีละชุด และทำการตรวจสอบระดับแรงดัน, กระแส, กำลังไฟฟ้า, (อุณหภูมิของ Load และสายไฟ, จุดต่อ) ไฟฟ้ารั่วในระบบ
- ตรวจเช็คสภาพมอเตอร์ในขณะ Run เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น Looseness, Unbalance miss alignment, Bearing
- หากปฎิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังประสบปัญหาอยู่ควร Shutdown ระบบและติดต่อกับ Supplier ของระบบเครื่องจักร
การตรวจสอบการลัดวงจร (Short) ของระบบไฟฟ้า
- ยืนบนพื้นฉนวนในขณะที่ทดสอบระบบไฟฟ้า หรือควรยืนบนพื้นที่แห้งและสวมถุงมือกันไฟฟ้า
- ทำการทดสอบความเป็นฉนวนของตู้สวิทซ์หลักและระบบไฟฟ้าย่อยโดยวัดความเป็นฉนวนดังนี้
- วัดความเป็นฉนวนของ Circuit Breaker ภายในตู้ MDB ในแต่ละเฟสโดยทดสอบเฟส-เฟส, เฟส-นิวทรอน, เฟสเทียบกราวด์
- ทำการตรวจสอบสายไฟฟ้า
- สภาพสายไฟจะต้องสมบูรณ์ไม่แตกร้าว ไม่บวม
- สายไฟฟ้าไม่บาดกับโลหะจับยึดสายไฟ
- ตรวจวัดด้วยเครื่องวัดความเป็นฉนวน (Insulation Tester) เพื่อยืนยันให้แน่นอนว่าสายไฟฟ้าดังกล่าวพร้อมใช้งาน หรือมีความเสียหายไปแล้ว
- วัดค่าความเป็นฉนวนระหว่างสาย L-N, L-PE, N-PE โดยการวัดจะต้องเป็นการวัดระหว่างตัวนำกับตัวนำเท่านั้น โดยที่จะต้องปลดสายไฟฟ้าจากสวิทซ์หลักและอุปกรณ์ไฟฟ้า (Load) จะต้องได้ค่าไม่ต่ำกว่า 0.5 เมกกะโอห์ม โดยใช้ระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงทดสอบไม่ต่ำกว่า 500 V เป็นเวลาต่อเนื่องไม่ควรต่ำกว่า 30 วินาที ตามมาตรฐาน IEC 6036
- ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ต่าง ๆ
- วัดค่าความเป็นฉนวนของสายไฟที่เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า 3 เฟส
- วัดสายไฟ เฟสเทียบเฟส
- วัดสายไฟเฟสเทียบนิวทรอน (ต้องปลดอุปกรณ์)
- วัดสายไฟนิวทรอนเทียบกราวด์ (โครง)
- วัดสายไฟเฟสเทียบกราวด์ (โครง)